วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2556

การอ่าน เขียน หรือเล่น อาจทำให้สมองนั้นคงสภาพดีไว้ไ้ด้



“การอ่านหนังสือพิมพ์ เขียนจดหมาย ไปห้องสมุด ไปดูการแสดงหรือเล่นเกมอย่างหมากรุก หมากฮอส นั้นเป็นกิจกรรมง่ายๆที่สามารถทำให้สมองมีสุขภาพดีขึ้นได้” ( รูปภาพจาก fsclchess.org )

งานวิจัยชิ้นใหม่ที่ถูกนำเสมอไป ณ วันที่ 25 พฤศจิกายนในงานประชุมประจำปีของสมาคมรังสีวิทยาแห่งอเมริกาเหนือ หรือ Radiological Society of North America (RSNA) นั้นกล่าวว่า กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับปัญญาอย่างการอ่านและเขียนนั้นสามารถรักษาความมั่นคงของโครงสร้างสมองของผู้สูงวัยได้

ในขณะที่งานวิจัยชิ้นก่อนๆได้แสดงถึงความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างกิจกรรมการเรียนรู้ในช่วงหลังของชีวิตกับความเฉียบแหลมทางปัญญา งานวิจัยชิ้นใหม่จากดร. Konstantinos Arfanakis และเพื่อนร่วมงานของเขาที่ Rush University Medical Center และ Illinois Institute of Technology ในรัฐชิคาโกได้ทำการวิจัยว่ากิจกรรมด้านการเรียนรู้ในช่วงหลังของชีวิตนั้นอาจให้ผลกระทบอย่างไรต่อส่วนเนื้อสีขาว (white matter) ของสมอง ซึ่งประกอบไปด้วยเส้นใยประสาท หรือ axon ที่คอยส่งข้อมูลไปทั่วทั้งสมอง

“การอ่านหนังสือพิมพ์ เขียนจดหมาย ไปห้องสมุด ไปดูการแสดงหรือเล่นเกมอย่างหมากรุก หมากฮอส นั้นเป็นกิจกรรมง่ายๆที่สามารถทำให้สมองมีสุขภาพดีขึ้นได้” ดร. Arfanakis กล่าว

นักวิจัยได้ใช้การถ่ายภาพ MRI ด้วยวิธีที่เรียกว่า diffusion tensor imaging (TDI) ซึ่งจะให้ข้อมูลเชิงโครงสร้างของสมองเพื่อที่จะเอาข้อมูลของคุณสมบัติการกระจายในเชิงทิศทางเพื่อดูว่าโมเลกุลของน้ำนั้นเคลื่อนไหวในอย่างไรในสมอง ซึ่งในส่วนเนื้อสีขาวนั้นการกระจายในเชิงทิศทางอาศัยข้อเท็จจริงที่ว่าน้ำนั้นจะเคลื่อนไหวในทิศทางคู่ขนานกับเส้นใยประสาทของสมองได้ง่ายขึ้น และลำบากขึ้นในทิศทางที่ตั้งฉากกับใยประสาท เหตุเพราะว่ามันถูกกีดขวางโดยโครงสร้างต่างๆเช่นเยื่อใยสมองและเยื่อไมอีลิน (myelin) โดยดร. Arfanakis กล่าวว่า “ความแตกต่างในการกระจายตัวไปตามทิศทาต่างๆนั้นจะเพิ่มค่าของการกระจายในเชิงทิศทาง ซึ่งจะสูงขึ้นเมื่อการกระจายตัวนั้นเกิดขึ้นในทิศทางหนึ่งมากกว่าที่จะเกิดขึ้นในทิศทางอื่นๆ” อย่างไรก็ตาม ค่านี้จะลดลงไปตามอายุ การบาดเจ็บ และการเจ็บป่วยด้วยโรคภัยต่างๆ 

ดร. Arfanakis กล่าวว่า “ในเนื้อสีขาวที่ดีนั้น น้ำจะไม่สามารถเคลื่อนที่ได้มากในทิศทางที่ตั้งฉากกับเส้นใยสมอง แต่ถ้าหากว่าควาาหน้าแน่นของเซลล์ประสาทต่ำหรือเยื่อไมอีลินน้อยล่ะก็ น้ำจะมีอิสระที่จะเคลื่อนที่ในแนวตั้งฉากกับเส้นใยสมองมากขึ้น ทำให้ค่าของการกระจายในเชิงทิศทางลดลง ซึ่งค่านี้นั้นจะสัมพันธ์กับความชราด้วย”

งานวิจัยชิ้นนี้ได้รวบรวมผู้เข้าร่วมสูงอายุจำนวนทั้งสิ้น 152 คน ที่มีค่าอายุเฉลี่ย 81 ปี จากอดีตโครงการใหญ่ที่วิจัยปัจจัยเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ ชื่อว่า Rush Memory and Aging Project 

จากการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์โดยละเอียดพบว่าผู้เข้าร่วมทดสอบนั้นไม่มีอาการจิตเสื่อมหรือความบกพร่องด้านการเรียนรู้แต่อย่างใด หลังจากนั้นนักวิจัยได้ขอให้ผู้เข้าร่วมทดสอบให้คะแนนตามช่วง 1 ถึง 5 ตามความถี่ของขำนวนครั้งที่พวกเขาได้เข้าร่วมกิจกรรมทางปัญญาในช่วงตลอดปีที่ผ่านมา ซึ่งในกิจกรรมเหล่านั้นมีการอ่านหนังสือพิมพ์และแม็กกาซีน เขียนจดหมายและการเล่นไพ่กับเกมกระดานรวมอยู่ด้วย 
ผู้เข้าร่วมทดสอบได้ผ่านการแสกนสมองด้วย MRI เพื่อให้ทางนักวิจัยได้เก็บข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการสร้างภาพจำลองการกระจายในเชิงทิศทางได้

การวิเคราะห์ข้อมูลได้เปิดเผยความสัมพันธ์ที่สำคัญยิ่งระหว่างความถี่ของกิจกรรมการเรียนรู้ในช่วงหลังของชีวิตและค่าของการกระจายทางทิศทางที่สูงขึ้นในสมอง “ในบางพื้นที่ของสมอง ซึ่งรวมไปถึงพื้นที่ๆค่อยข้างสำคัญต่อการเรียนรู้นั้นได้แสดงถึงความเกี่ยวโยงกันระหว่างโครงสร้างกับกิจกรรมด้านการเรียนรู้ในช่วงหลังของชีวิต” Dr. Arfanakis กล่าว “การทำให้สมองวุ่นเข้าไว้ในตอนแก่ตัวนั้นจะส่งผลในด้านบวกแก่เรา”

จากคำกล่าวของดร. Arfanakis  นั้น การกระจายในเชิงทิศทางนั้นจะมีค่าต่ำลงเรื่อยๆตั้งแต่อายุ 30 เป็นต้นไป “การที่ผู้สูงวัยมีค่าการกระจายในเชิงทิศทางสูงและเข้าร่วมกิจกรรมด้านการเรียนรู้บ่อยๆนั้นชี้ให้เห็นว่าบุคคลเหล่านี้มีคุณสมบัติทางสมองที่คล้ายคลึงกับผู้ที่มีอายุอ่อนกว่า” 

การวิจัยนั้นจะยังคงดำเนินต่อไปเพื่อที่จะติดตามผู้เข้าร่วมทดสอบโดยมุ่งเน้นไปในการเปรียบเทียบค่าของการกระจายตัวทางทิศทางเมื่อเวลาผ่านพ้นไป “ในกลุ่มผู้เข้าร่วมทดสอบเหล่านี้ เราได้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมการเรียนรู้ในช่วงหลังของชีวิตและความมั่นคงแข็งแกร่งของโครงสร้างแล้ว แต่เรายังไม่ได้แสดงว่าสิ่งหนึ่งเป็นสาเหตุของอีกสิ่งหนึ่งเลย” ดร. Arfanakis กล่าว “พวกเราอยากจะติดตามคนไข้รายเดียวกันไปช่วงเวลาหนึ่งเพื่อที่จะแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงที่เป็นเหตุเป็นผลระหว่างกันด้วย”



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น