โซนที่ 1. เป็นสถานีการทดลองในรูปแบบ Hands on experiments ภายใต้หัวข้อ “แสง แม่เหล็ก และคลื่น” ซึ่งในส่วนนี้มีสถานีการทดลองย่อยรวม 10 สถานีที่จะให้ประชาชนและเยาวชนได้สัมผัสเรียนรู้และทดลองด้วยตัวเอง ประกอบด้วย 1. สถานีการทดลองกระดิ่งในกล่องแก้วสุญญากาศ 2. สถานีการทดลองการกระเจิงของแสง และโพลาไรเซชั่น 3. สถานีการทดลององค์ประกอบของแสง 4. สถานีการทดลองการหักเหของแสง 5. สถานีการทดลองแผ่นฟิล์มดูสนามแม่เหล็ก 6. สถานีการทดลองแม่เหล็กไฟฟ้า 7. สถานีการทดลองวงแหวนอิเล็กตรอน Helmholtz Coils 8. สถานีการทดลองพลาสมาบอล 9.สถานีการทดลองแม่เหล็กเหลว 10.สถานีการทดลองสนามแม่เหล็ก การทดลองเหล่านี้ล้วนเสริมสร้างความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของแสงซินโครตรอน โซนที่ 2 เป็นห้องฉายภาพยนตร์ 3 มิติ Mr.Synchrotron เด็ก ๆ จะได้พบกับพี่ซินโครตรอนและเพื่อนพ้อง โซนที่ 3 เป็นส่วนนิทรรศการความร่วมมือระหว่างซินโครตรอนไทย คือ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กับ ซินโครตรอนฝรั่งเศส ซึ่งก็คือ European Synchrotron Radiation Facility (ESRF) ประเทศฝรั่งเศส ด้วยการสนับสนุนงบประมาณจากสถานฑูตฝรั่งเศส ในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านแสงซินโครตรอน และนิทรรศการผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้แสงซินโครตรอนเพื่อค้นหาความลับที่ซ่อนอยู่ในวัตถุโบราณต่างยุคสมัย และโซนที่ 4 เป็นเวทีกิจกรรมบนเวที Science Show พบกับการตอบคำถาม เล่นเกมส์รับของรางวัลมากมายจาก Pretty สาวสวยที่จะมาให้ความรู้เรื่องแสงซินโครตรอน”
ศ. น.ท. ดร.สราวุฒิ กล่าวอีกว่า “นอกจากนี้ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ยังได้นำผลงานวิจัยเด่นร่วมแสดงในนิทรรศการครั้งนี้ เช่น ซินโครตรอนกับศึกษาสารต้านมะเร็งจากพืชสมุนไพร, การจำแนกเซลล์กระดูกอ่อนที่พัฒนามาจากเซลล์ต้นกำเนิด, เทคนิค FTIR microspectroscopy กับอนาคตในการรักษาโรคตับจากเซลล์ต้นกำเนิด, การศึกษากระจกเกรียบโบราณของไทยด้วยแสงซินโครตรอน, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แห่งอนาคตจากอ็อกไซด์ของโลหะ, แสงซินโครตรอนวิจัยเพื่อหาการจัดเรียงโมเลกุลของแป้งเม็ดมะขามสำหรับควบคุมการปลดปล่อยยา,เพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังด้วยจุลินทรีย์ต่อต้านโรคใบไหม้, การให้บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น”
อย่างไรก็ตามขอเชิญชวนประชาชนและเยาวชน เข้าเยี่ยมชมบูธของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ได้ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำปี 2555 ซึ่งจะได้ทั้งความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ได้สัมผัสและเรียนรู้เกี่ยวกับห้องปฏิบัติการแสงสยามแห่งเดียวของไทยและแห่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน ภายในงานนี้” ศ.น.ท.ดร.สราวุฒิ กล่าวในที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น