Pete Cashmore ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของเว็บล็อคข่าวไอทียอดฮิตอย่าง Mashable ซึ่งรับหน้าที่เขียนคอลัมน์เกี่ยวกับเครือข่ายสังคมและเทคโนโลยีให้ CNN.com ลงมือรวบรวมผลการสำรวจพฤติกรรมชาวเครือข่ายสังคมเพื่อประมวลเป็น "10 ความจริงน่าทึ่งของผู้ใช้เฟซบุ๊ก" ที่แม้จะเป็นการทำสำรวจในสังคมอเมริกัน แต่บางข้อก็พบได้บ่อยในสังคมไทยเช่นกัน ตัวอย่างบางส่วนใน 10 ผลการสำรวจน่าสนใจที่ Cashmore ยกมาพูดถึงคือ 47% เคยโพสต์คำสบถแสดงอารมณ์บนหน้าเพจเฟซบุ๊ก ขณะที่ชาวเฟซบุ๊กดีกรีปริญญาซึ่งพูดคุยเรื่องเหล้ายาปลาปิ้งจะมีแนวโน้มมีเพื่อนมากกว่าคนที่ไม่พูดถึงแอลกอฮอล์บนเฟซบุ๊ก และชาวเฟซบุ๊ก 48% เข้าไปดูโปรไฟล์ของแฟนเก่าบ่อยครั้ง | |||||
การสำรวจชาวอเมริกันกว่า 1,000 คนในโครงการ Responsibility Project ของกลุ่ม Liberty Mutual ในเดือนกุมภาพันธ์ 2010 พบว่าคอเฟซบุ๊กอเมริกันมากกว่าครึ่งคิดว่าเจ้านายและลูกน้องไม่ควรเป็นเพื่อนกันบนเฟซบุ๊ก แม้ว่าชีวิตการทำงานและชีวิตประจำวันของคนไอทีจะคาบเกี่ยวกันมากขึ้น แต่คนไอทีก็ยังมองว่าควรมีเส้นแบ่งให้ชัดเจน และเจ้านายควรวางตัวให้ดีเพื่อจะได้ตัดสินพนักงานที่ความสามารถแท้จริงมากกว่าความสัมพันธ์ส่วนบุคคล โดย 62% มองว่าเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมหากเจ้านายตอบรับเป็นเพื่อนกับลูกน้องบนเฟซบุ๊ก 2. ลิงก์เว็บไซต์ลามกถูกแชร์บนเฟซบุ๊กมากกว่าปกติถึง 90% ความจริงข้อนี้ได้จากการศึกษาของ Dan Zarrella ผู้เชี่ยวชาญด้านเครือข่ายสังคมซึ่งพบว่าตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคมปี 2010 ในบรรดาลิงก์เว็บไซต์ข่าวและบล็อกกว่า 12,000 ลิงก์ที่เขาศึกษา ปรากฏว่าลิงก์เว็บไซต์สยิวถูกแชร์หรือแบ่งปันในเฟซบุ๊กมากกว่าค่ามาตรฐานถึง 90% โดยลิงก์ที่มีหัวเรื่องในแง่บวกจะถูกแชร์มากกว่าหัวเรื่องด้านลบ 3. คนมีคู่บนเฟซบุ๊กมีความสุขมากกว่าคนโสด เดือนกุมภาพันธ์ 2010 เฟซบุ๊กใช้วันวาเลนไทน์เป็นวันเปรียบเทียบสถานะความสัมพันธ์หรือ relationship status กับความสุขของผู้ใช้แต่ละคน ปรากฏว่าคนที่ตั้งสถานะว่า "in relationships" หรือ "กำลังเริ่มความสัมพันธ์" นั้นโพสต์ข้อความแสดงอารมณ์เชิงบวกมากกว่าคนที่มีสถานะ "Single" ทำให้แปลได้ว่าคนมีคู่บนเฟซบุ๊กนั้นมีความสุขมากกว่าคนโสด และคนที่แต่งงานแล้ว (married) หรือหมั้นหมายแล้ว (engaged) จะมีดีกรีความสุขมากกว่ากลุ่ม"เพิ่งเริ่มคบหา" ที่น่าสนใจคือกลุ่มที่ตั้งสถานะว่า "open relationship" หรือที่แปลว่ายังไม่ผูกสมัครรักใครเป็นตัวตน กลับมีความสุขน้อยกว่าคนโสด | |||||
การสำรวจในเดือนมิถุนายนปี 2010 ในกลุ่มผู้ใช้เฟซบุ๊ก 1,000 คน (70% เป็นชาย) พบว่ากว่า 25% เคยถูกทิ้งทางเฟซบุ๊ก โดยส่วนใหญ่ถูกทำร้ายจิตใจด้วยการเปลี่ยนสถานะเป็น "โสด" ของคนรัก การสำรวจครั้งนั้นพบว่า 21% ของกลุ่มตัวอย่างเลือกที่จะตัดสัมพันธ์ด้วยการเปลี่ยนสถานะ ซึ่งโชคยังดีเมื่อพบว่าส่วนใหญ่เป็นการเลิกราธรรมดา ไม่ใช่การหย่าร้างของคู่สามีภรรยา ยังมีการสำรวจอีกชิ้นที่พบว่า ผู้หญิงตกที่นั่งถูกตัดเยื้อใยผ่านเฟซบุ๊กน้อยกว่าผู้ชาย โดยผู้หญิงมีสถิติที่ 9% เทียบกับฝ่ายชายที่มีสัดส่วนถึง 24% 5. 85% ของผู้หญิงถูกเพื่อนในเฟซบุ๊ก"รำคาญ" การสำรวจของกลุ่ม Eversave ซึ่งถูกเปิดเผยในเดือนมีนาคม พบว่าชาวเฟซบุ๊กหญิงกว่า 85% ยอมรับว่าเคยถูกเพื่อนบนเฟซบุ๊กรำคาญเคืองใจ โดยส่วนใหญ่บอกว่าถูกรำคาญด้วยข้อหา"บ่นตลอดเวลา" (63%) บางคนโดนข้อหา "พูดเรื่องการเมืองไม่พึงประสงค์" (42%) และ "คุยโวเกี่ยวกับชีวิตสมบูรณ์แบบ" (32%) 6. ครอบครัวเฟซบุ๊ก 25% ไม่ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว เดือนมิถุนายนปี 2010 การสำรวจโดยนิตยสาร Consumer Reports พบว่า 1 ใน 4 ของครัวเรือนที่มีชื่อบัญชีใช้งานเฟซบุ๊กยังไม่ทราบหรือไม่ลงมือตั้งค่าความเป็นส่วนตัวในเฟซบุ๊ก โดย 26% ของครอบครัวที่มีเด็ก มีความเป็นไปได้ที่จะทำให้เด็กมีความเสี่ยงตกอยู่ในอันตราย โดยเฉพาะภัยลักพาตัว ด้วยการโพสต์ภาพและชื่อของเด็กลงไป ซึ่งจะสามารถเปิดโอกาสให้โจรร้ายสามารถรู้ข้อมูลของเด็กได้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ 7. พ่อแม่ 48% เป็นเพื่อนกับลูกบนเฟซบุ๊ก ข้อนี้ในเมืองไทยก็เห็นได้มาก โดยการสำรวจช่วงพฤษภาคม 2010 โดย Retrevo พบว่าพ่อแม่เกือบครึ่งที่ขอเป็นเพื่อนกับลูกในเครือข่ายสังคม ซึ่งเมื่อพ่อแม่กลุ่มตัวอย่างถูกถามว่า จะยินยอมให้ลูกลงชื่อใช้งานเฟซบุ๊กหรือเครือข่ายสังคมอื่นได้อายุเท่าใด ราว 26% ระบุว่าต้องรอให้มากกว่า 18 ปี โดย 36% บอกว่า 16-18 ปี อีก 30% บอกว่า 13-15 ปี เพียง 8% เท่านั้นที่บอกว่าต่ำกว่า 13 ปี | |||||
การสำรวจโดยบริษัท Reppler พบว่าผู้ใช้เฟซบุ๊ก 47% เคยโพสต์ข้อความสบถระบายอารมณ์ขุ่นมัวไว้บนวอลล์ หรือกระดานแสดงความเคลื่อนไหวในเฟซบุ๊ก โดยคำสบถยอดนิยมหนีไม่พ้น "F-word" หรือ F_ck นั่นเอง 9. 48% ดูโปรไฟล์แฟนเก่าบ่อยขึ้น ผลการสำรวจนี้เป็นของ YouTango กลุ่มตัวอย่าง 48% ยอมรับว่าเข้าไปดูโปรไฟล์ของแฟนเก่าบ่อยครั้งกว่าเมื่อตอนยังคบกัน ผลการสำรวจนี้ถูกมองว่าเทคโนโลยีใหม่อย่างเครือข่ายสังคมเป็นตัวการควบคุมให้คนอกหักมีพฤติกรรมเช่นนี้ (อิอิ) 10. 36% ของคนเฟซบุ๊กอายุ 35 ลงไป เล่น Facebook, Twitter หลังมีเพศสัมพันธ์ ผลการสำรวจนี้ถูกเผยแพร่ในเดือนตุลาคมปี 2009 โดย Retrevo ระบุว่าเครือข่ายสังคมกำลังกลายเป็นสิ่งที่สำคัญในวิถีชีวิตคนรุ่นใหม่ โดยพบว่าในคนอเมริกันที่มีอายุ 35 ปีลงไป จะเล่นทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ก หรือส่งข้อความแชต (texting) หลังตะลุ่มตุ้มแช่กันแล้ว น่าตกใจที่การสำรวจในครั้งนั้นพบว่า 40% ของกลุ่มตัวอย่างเล่นทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ก และแชตขณะขับรถ อีก 64% บอกว่าทำขณะทำงาน อีก 65% บอกว่าใช้เป็นช่องทางสื่อสารระหว่างวันหยุด ถ้าเป็นในเมืองไทย ความจริงน่าทึ่งของชาวเฟซบุ๊กอาจจะเป็น"คนไทยดูละครผ่านเฟซบุ๊ก"ก็ได้ เพราะคอละครไทยจำนวนไม่น้อยโพสต์ข้อความอัปเดทเฟซบุ๊กด้วยความอินในอารมณ์เหลือเกิน ^ ^ ข้อมูลจาก : http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9540000065369 |
วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556
ข่าว 10 ความจริงน่าทึ่งบน FACEBOOK
วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2556
“แสงซินโครตรอน”จัดเต็ม มหกรรมวิทย์’55 โชว์สถานีทดลองล้ำยุค – ผลงานวิจัยชิ้นเอก
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ร่วมจัดนิทรรศการวิชาการ โชว์สถานีการทดลองล้ำยุค “แสง แม่เหล็ก และคลื่น” พร้อมแสดงผลงานวิจัยเด่น ใน “งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปี 2555 ” กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ ไบเทคบางนาระหว่าง 17 - 31 ส.ค. นี้
ศ.น.ท. ดร.สราวุฒิ สุจิตจร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) จ.นครราชสีมา กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า “สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ได้เข้าร่วมจัดนิทรรศการวิชาการใน งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำปี 2555 ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-31 สิงหาคม 2555 ณ ศูนย์การจัดแสดงนิทรรศการไบเทค บางนา ด้วยพื้นที่ในการจัดนิทรรศการครั้งนี้รวมกว่า 400 ตารางเมตร (ตร.ม.) แบ่งการจัดนิทรรศการที่น่าสนใจออกเป็น 4 โซนหลัก ได้แก่
โซนที่ 1. เป็นสถานีการทดลองในรูปแบบ Hands on experiments ภายใต้หัวข้อ “แสง แม่เหล็ก และคลื่น” ซึ่งในส่วนนี้มีสถานีการทดลองย่อยรวม 10 สถานีที่จะให้ประชาชนและเยาวชนได้สัมผัสเรียนรู้และทดลองด้วยตัวเอง ประกอบด้วย 1. สถานีการทดลองกระดิ่งในกล่องแก้วสุญญากาศ 2. สถานีการทดลองการกระเจิงของแสง และโพลาไรเซชั่น 3. สถานีการทดลององค์ประกอบของแสง 4. สถานีการทดลองการหักเหของแสง 5. สถานีการทดลองแผ่นฟิล์มดูสนามแม่เหล็ก 6. สถานีการทดลองแม่เหล็กไฟฟ้า 7. สถานีการทดลองวงแหวนอิเล็กตรอน Helmholtz Coils 8. สถานีการทดลองพลาสมาบอล 9.สถานีการทดลองแม่เหล็กเหลว 10.สถานีการทดลองสนามแม่เหล็ก การทดลองเหล่านี้ล้วนเสริมสร้างความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของแสงซินโครตรอน โซนที่ 2 เป็นห้องฉายภาพยนตร์ 3 มิติ Mr.Synchrotron เด็ก ๆ จะได้พบกับพี่ซินโครตรอนและเพื่อนพ้อง โซนที่ 3 เป็นส่วนนิทรรศการความร่วมมือระหว่างซินโครตรอนไทย คือ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กับ ซินโครตรอนฝรั่งเศส ซึ่งก็คือ European Synchrotron Radiation Facility (ESRF) ประเทศฝรั่งเศส ด้วยการสนับสนุนงบประมาณจากสถานฑูตฝรั่งเศส ในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านแสงซินโครตรอน และนิทรรศการผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้แสงซินโครตรอนเพื่อค้นหาความลับที่ซ่อนอยู่ในวัตถุโบราณต่างยุคสมัย และโซนที่ 4 เป็นเวทีกิจกรรมบนเวที Science Show พบกับการตอบคำถาม เล่นเกมส์รับของรางวัลมากมายจาก Pretty สาวสวยที่จะมาให้ความรู้เรื่องแสงซินโครตรอน”
![](https://lh3.googleusercontent.com/blogger_img_proxy/AEn0k_tHx4iMdtsQUExeEf981ql-bdKDCtVyiWqCPrGj4u1BlAltKEMluOok9Md29FlMbyGqLHU29s5IqyrF1FX0bX9T3zJfZQcQMA5QKI1Owdzg-Tps=s0-d)
ศ. น.ท. ดร.สราวุฒิ กล่าวอีกว่า “นอกจากนี้ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ยังได้นำผลงานวิจัยเด่นร่วมแสดงในนิทรรศการครั้งนี้ เช่น ซินโครตรอนกับศึกษาสารต้านมะเร็งจากพืชสมุนไพร, การจำแนกเซลล์กระดูกอ่อนที่พัฒนามาจากเซลล์ต้นกำเนิด, เทคนิค FTIR microspectroscopy กับอนาคตในการรักษาโรคตับจากเซลล์ต้นกำเนิด, การศึกษากระจกเกรียบโบราณของไทยด้วยแสงซินโครตรอน, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แห่งอนาคตจากอ็อกไซด์ของโลหะ, แสงซินโครตรอนวิจัยเพื่อหาการจัดเรียงโมเลกุลของแป้งเม็ดมะขามสำหรับควบคุมการปลดปล่อยยา,เพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังด้วยจุลินทรีย์ต่อต้านโรคใบไหม้, การให้บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น”
![](https://lh3.googleusercontent.com/blogger_img_proxy/AEn0k_t_S-Zj9CY0c-1vCaiW8_TqH_VTH-bqv_4Ui-6ik6JbCxQbVReXFmK1UVcmfXaqcVyZRRzgTxWpU9pqn08oanikFJ9nOtwKRy5ZDEbOppxfqOtx=s0-d)
อย่างไรก็ตามขอเชิญชวนประชาชนและเยาวชน เข้าเยี่ยมชมบูธของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ได้ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำปี 2555 ซึ่งจะได้ทั้งความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ได้สัมผัสและเรียนรู้เกี่ยวกับห้องปฏิบัติการแสงสยามแห่งเดียวของไทยและแห่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน ภายในงานนี้” ศ.น.ท.ดร.สราวุฒิ กล่าวในที่สุด
โซนที่ 1. เป็นสถานีการทดลองในรูปแบบ Hands on experiments ภายใต้หัวข้อ “แสง แม่เหล็ก และคลื่น” ซึ่งในส่วนนี้มีสถานีการทดลองย่อยรวม 10 สถานีที่จะให้ประชาชนและเยาวชนได้สัมผัสเรียนรู้และทดลองด้วยตัวเอง ประกอบด้วย 1. สถานีการทดลองกระดิ่งในกล่องแก้วสุญญากาศ 2. สถานีการทดลองการกระเจิงของแสง และโพลาไรเซชั่น 3. สถานีการทดลององค์ประกอบของแสง 4. สถานีการทดลองการหักเหของแสง 5. สถานีการทดลองแผ่นฟิล์มดูสนามแม่เหล็ก 6. สถานีการทดลองแม่เหล็กไฟฟ้า 7. สถานีการทดลองวงแหวนอิเล็กตรอน Helmholtz Coils 8. สถานีการทดลองพลาสมาบอล 9.สถานีการทดลองแม่เหล็กเหลว 10.สถานีการทดลองสนามแม่เหล็ก การทดลองเหล่านี้ล้วนเสริมสร้างความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของแสงซินโครตรอน โซนที่ 2 เป็นห้องฉายภาพยนตร์ 3 มิติ Mr.Synchrotron เด็ก ๆ จะได้พบกับพี่ซินโครตรอนและเพื่อนพ้อง โซนที่ 3 เป็นส่วนนิทรรศการความร่วมมือระหว่างซินโครตรอนไทย คือ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กับ ซินโครตรอนฝรั่งเศส ซึ่งก็คือ European Synchrotron Radiation Facility (ESRF) ประเทศฝรั่งเศส ด้วยการสนับสนุนงบประมาณจากสถานฑูตฝรั่งเศส ในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านแสงซินโครตรอน และนิทรรศการผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้แสงซินโครตรอนเพื่อค้นหาความลับที่ซ่อนอยู่ในวัตถุโบราณต่างยุคสมัย และโซนที่ 4 เป็นเวทีกิจกรรมบนเวที Science Show พบกับการตอบคำถาม เล่นเกมส์รับของรางวัลมากมายจาก Pretty สาวสวยที่จะมาให้ความรู้เรื่องแสงซินโครตรอน”
ศ. น.ท. ดร.สราวุฒิ กล่าวอีกว่า “นอกจากนี้ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ยังได้นำผลงานวิจัยเด่นร่วมแสดงในนิทรรศการครั้งนี้ เช่น ซินโครตรอนกับศึกษาสารต้านมะเร็งจากพืชสมุนไพร, การจำแนกเซลล์กระดูกอ่อนที่พัฒนามาจากเซลล์ต้นกำเนิด, เทคนิค FTIR microspectroscopy กับอนาคตในการรักษาโรคตับจากเซลล์ต้นกำเนิด, การศึกษากระจกเกรียบโบราณของไทยด้วยแสงซินโครตรอน, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แห่งอนาคตจากอ็อกไซด์ของโลหะ, แสงซินโครตรอนวิจัยเพื่อหาการจัดเรียงโมเลกุลของแป้งเม็ดมะขามสำหรับควบคุมการปลดปล่อยยา,เพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังด้วยจุลินทรีย์ต่อต้านโรคใบไหม้, การให้บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น”
อย่างไรก็ตามขอเชิญชวนประชาชนและเยาวชน เข้าเยี่ยมชมบูธของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ได้ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำปี 2555 ซึ่งจะได้ทั้งความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ได้สัมผัสและเรียนรู้เกี่ยวกับห้องปฏิบัติการแสงสยามแห่งเดียวของไทยและแห่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน ภายในงานนี้” ศ.น.ท.ดร.สราวุฒิ กล่าวในที่สุด
การอ่าน เขียน หรือเล่น อาจทำให้สมองนั้นคงสภาพดีไว้ไ้ด้
“การอ่านหนังสือพิมพ์ เขียนจดหมาย ไปห้องสมุด ไปดูการแสดงหรือเล่นเกมอย่างหมากรุก หมากฮอส นั้นเป็นกิจกรรมง่ายๆที่สามารถทำให้สมองมีสุขภาพดีขึ้นได้” ( รูปภาพจาก fsclchess.org )
งานวิจัยชิ้นใหม่ที่ถูกนำเสมอไป ณ วันที่ 25 พฤศจิกายนในงานประชุมประจำปีของสมาคมรังสีวิทยาแห่งอเมริกาเหนือ หรือ Radiological Society of North America (RSNA) นั้นกล่าวว่า กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับปัญญาอย่างการอ่านและเขียนนั้นสามารถรักษาความมั่นคงของโครงสร้างสมองของผู้สูงวัยได้
ในขณะที่งานวิจัยชิ้นก่อนๆได้แสดงถึงความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างกิจกรรมการเรียนรู้ในช่วงหลังของชีวิตกับความเฉียบแหลมทางปัญญา งานวิจัยชิ้นใหม่จากดร. Konstantinos Arfanakis และเพื่อนร่วมงานของเขาที่ Rush University Medical Center และ Illinois Institute of Technology ในรัฐชิคาโกได้ทำการวิจัยว่ากิจกรรมด้านการเรียนรู้ในช่วงหลังของชีวิตนั้นอาจให้ผลกระทบอย่างไรต่อส่วนเนื้อสีขาว (white matter) ของสมอง ซึ่งประกอบไปด้วยเส้นใยประสาท หรือ axon ที่คอยส่งข้อมูลไปทั่วทั้งสมอง
“การอ่านหนังสือพิมพ์ เขียนจดหมาย ไปห้องสมุด ไปดูการแสดงหรือเล่นเกมอย่างหมากรุก หมากฮอส นั้นเป็นกิจกรรมง่ายๆที่สามารถทำให้สมองมีสุขภาพดีขึ้นได้” ดร. Arfanakis กล่าว
นักวิจัยได้ใช้การถ่ายภาพ MRI ด้วยวิธีที่เรียกว่า diffusion tensor imaging (TDI) ซึ่งจะให้ข้อมูลเชิงโครงสร้างของสมองเพื่อที่จะเอาข้อมูลของคุณสมบัติการกระจายในเชิงทิศทางเพื่อดูว่าโมเลกุลของน้ำนั้นเคลื่อนไหวในอย่างไรในสมอง ซึ่งในส่วนเนื้อสีขาวนั้นการกระจายในเชิงทิศทางอาศัยข้อเท็จจริงที่ว่าน้ำนั้นจะเคลื่อนไหวในทิศทางคู่ขนานกับเส้นใยประสาทของสมองได้ง่ายขึ้น และลำบากขึ้นในทิศทางที่ตั้งฉากกับใยประสาท เหตุเพราะว่ามันถูกกีดขวางโดยโครงสร้างต่างๆเช่นเยื่อใยสมองและเยื่อไมอีลิน (myelin) โดยดร. Arfanakis กล่าวว่า “ความแตกต่างในการกระจายตัวไปตามทิศทาต่างๆนั้นจะเพิ่มค่าของการกระจายในเชิงทิศทาง ซึ่งจะสูงขึ้นเมื่อการกระจายตัวนั้นเกิดขึ้นในทิศทางหนึ่งมากกว่าที่จะเกิดขึ้นในทิศทางอื่นๆ” อย่างไรก็ตาม ค่านี้จะลดลงไปตามอายุ การบาดเจ็บ และการเจ็บป่วยด้วยโรคภัยต่างๆ
ดร. Arfanakis กล่าวว่า “ในเนื้อสีขาวที่ดีนั้น น้ำจะไม่สามารถเคลื่อนที่ได้มากในทิศทางที่ตั้งฉากกับเส้นใยสมอง แต่ถ้าหากว่าควาาหน้าแน่นของเซลล์ประสาทต่ำหรือเยื่อไมอีลินน้อยล่ะก็ น้ำจะมีอิสระที่จะเคลื่อนที่ในแนวตั้งฉากกับเส้นใยสมองมากขึ้น ทำให้ค่าของการกระจายในเชิงทิศทางลดลง ซึ่งค่านี้นั้นจะสัมพันธ์กับความชราด้วย”
งานวิจัยชิ้นนี้ได้รวบรวมผู้เข้าร่วมสูงอายุจำนวนทั้งสิ้น 152 คน ที่มีค่าอายุเฉลี่ย 81 ปี จากอดีตโครงการใหญ่ที่วิจัยปัจจัยเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ ชื่อว่า Rush Memory and Aging Project
จากการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์โดยละเอียดพบว่าผู้เข้าร่วมทดสอบนั้นไม่มีอาการจิตเสื่อมหรือความบกพร่องด้านการเรียนรู้แต่อย่างใด หลังจากนั้นนักวิจัยได้ขอให้ผู้เข้าร่วมทดสอบให้คะแนนตามช่วง 1 ถึง 5 ตามความถี่ของขำนวนครั้งที่พวกเขาได้เข้าร่วมกิจกรรมทางปัญญาในช่วงตลอดปีที่ผ่านมา ซึ่งในกิจกรรมเหล่านั้นมีการอ่านหนังสือพิมพ์และแม็กกาซีน เขียนจดหมายและการเล่นไพ่กับเกมกระดานรวมอยู่ด้วย
ผู้เข้าร่วมทดสอบได้ผ่านการแสกนสมองด้วย MRI เพื่อให้ทางนักวิจัยได้เก็บข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการสร้างภาพจำลองการกระจายในเชิงทิศทางได้
การวิเคราะห์ข้อมูลได้เปิดเผยความสัมพันธ์ที่สำคัญยิ่งระหว่างความถี่ของกิจกรรมการเรียนรู้ในช่วงหลังของชีวิตและค่าของการกระจายทางทิศทางที่สูงขึ้นในสมอง “ในบางพื้นที่ของสมอง ซึ่งรวมไปถึงพื้นที่ๆค่อยข้างสำคัญต่อการเรียนรู้นั้นได้แสดงถึงความเกี่ยวโยงกันระหว่างโครงสร้างกับกิจกรรมด้านการเรียนรู้ในช่วงหลังของชีวิต” Dr. Arfanakis กล่าว “การทำให้สมองวุ่นเข้าไว้ในตอนแก่ตัวนั้นจะส่งผลในด้านบวกแก่เรา”
จากคำกล่าวของดร. Arfanakis นั้น การกระจายในเชิงทิศทางนั้นจะมีค่าต่ำลงเรื่อยๆตั้งแต่อายุ 30 เป็นต้นไป “การที่ผู้สูงวัยมีค่าการกระจายในเชิงทิศทางสูงและเข้าร่วมกิจกรรมด้านการเรียนรู้บ่อยๆนั้นชี้ให้เห็นว่าบุคคลเหล่านี้มีคุณสมบัติทางสมองที่คล้ายคลึงกับผู้ที่มีอายุอ่อนกว่า”
การวิจัยนั้นจะยังคงดำเนินต่อไปเพื่อที่จะติดตามผู้เข้าร่วมทดสอบโดยมุ่งเน้นไปในการเปรียบเทียบค่าของการกระจายตัวทางทิศทางเมื่อเวลาผ่านพ้นไป “ในกลุ่มผู้เข้าร่วมทดสอบเหล่านี้ เราได้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมการเรียนรู้ในช่วงหลังของชีวิตและความมั่นคงแข็งแกร่งของโครงสร้างแล้ว แต่เรายังไม่ได้แสดงว่าสิ่งหนึ่งเป็นสาเหตุของอีกสิ่งหนึ่งเลย” ดร. Arfanakis กล่าว “พวกเราอยากจะติดตามคนไข้รายเดียวกันไปช่วงเวลาหนึ่งเพื่อที่จะแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงที่เป็นเหตุเป็นผลระหว่างกันด้วย”
ดาวเคราะห์น้อย Apophis จะพุ่งชนโลกในช่วงที่เข้าใกล้โลกปี 2036 นั้น เป็นไปไม่ได้
ชาวโลกวางใจได้แล้วเมื่อนาซ่าออกมายืนยันว่า โอกาสที่ดาวเคราะห์น้อย Apophis จะพุ่งชนโลกในช่วงที่เข้าใกล้โลกปี 2036 นั้น เป็นไปไม่ได้
นักวิทยาศาสตร์ที่องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ สหรัฐฯ หรือนาซ่า ทำการอัพเดตข้อมูลจากการสำรวจด้วยกล้องโทรทรรศน์ที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรระหว่างปี 2011 ถึงปี 2012 ตลอดจนข้อมูลใหม่ช่วงที่ดาวเคราะห์ดวงนี้เข้าใกล้โลกในวันที่ 9 มกราคม 2013 จนล่าสุด นักวิทยาศาสตร์ที่ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยแรงขับเคลื่อนไอพ่นที่พาซาเดน่า แคลิฟอร์เนีย ก็ยืนยันแล้วว่า ข่าวลือที่ว่าดาวเคราะห์น้อยดวงนี้จะพุ่งชนโลกในอีกยี่สิบกว่าปีข้างหน้านั้น เป็นไปไม่ได้
ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ถูกค้นพบขึ้นครั้งแรกในปี 2004 โดยมีขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของสนามฟุตบอล แต่เพิ่งจะมาได้รับความสนใจในวงการวิทยาศาสตร์อวกาศและสื่อต่างๆเมื่อการคำนวณเบื้องต้นนั้นระบุว่า มีโอกาส 2.7 เปอร์เซ็นต์ที่จะพุ่งชนโลกในช่วงที่เข้าใกล้โลกในปี 2029 แต่เมื่อทำการคำนวณและสำรวจเพิ่งเติมกลับพบว่า โอกาสที่จะพุ่งชนโลกในปี 2029 นั้นแทบไม่มีเลย แต่เมื่อคิดคำนวณไปไกลกว่านั้นคือในปี 2036 พบว่า มีโอกาสที่จะพุ่งชนโลกได้เช่นกัน และนักวิทยาศาสตร์ก็ตระหนกกันเรื่อยมา จนกระทั่งวางใจได้แล้วเมื่อวันพุธที่ผ่านมา
"เมื่อเราได้ข้อมูลใหม่จากสถาบันแมกดาเลน่า ริดจ์ (สถาบันเหมืองแร่และเทคโนโลยี นิวเม็กซิโก) และจากการสำรวจด้วยกล้องจากโครงการแพน-สตาร์ส (มหาวิทยาลัยฮาวาย) พร้อมทั้งข้อมูลล่าสุดจากเรดาร์ระบบสุริยะโกลด์สโตน เราสามารถปฏิเสธความเห็นไปได้ที่ดาวเคราะห์น้อย Apophis จะพุ่งชนโลกในปี 2036 ได้เลย" ดอน ยีโอแมนส์ ผู้อำนวยการโครงการวัตถุใกล้โลกของนาซ่าแถลง
"การพุ่งชนนั้นมีโอกาสน้อยกว่า 1 ในล้าน ซึ่งก็ทำให้เราพูดได้อย่างสบายใจเลยว่า เราสามารถปฏิเสธโอกาสที่มันจะพุ่งชนโลกในปี 2036 ได้เลย ความสนใจของเราที่มีต่อดาวเคราะห์น้อย Apophis จากนี้ไปจะมีก็เพื่อเรื่องวิทยาศาสตร์เท่านั้น"
อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 13 เมษายน 2029 นั้น ดาวเคราะห์น้อย Apophis จะเป็นดาวเคราะห์น้อยที่จะเข้าใกล้โลกมากที่สุดดวงหนึ่ง ด้วยระยะใกล้กว่า 19,400 ไมล์ (31,300 กิโลเมตร) เหนือพื้นโลก!
"แต่อีกไม่นานนี้ ดาวเคราะห์น้อยที่ไม่ค่อยจะมีใครรู้จัก ชื่อ 2012 DA 14 ก็มีผ่านเข้ามาใกล้กับโลกเราเหมือนกันนะ คือช่วงกลางเดือนหน้านี้เอง ขนาดราวๆ 40 เมตรเท่านั้น ซึ่งจะเฉียดโลกที่ระยะห่าง 17,200 ไมล์เหนือพื้นโลกเท่านั้น" ยีโอแมนส์กล่าวต่อ
"เมื่อกล้องโทรทรรศน์ตัวใหม่เราทำงานได้ กล้องโทรทรรศน์ที่เรามีก็จะยกระดับไปอีกขั้น และจากนั้น เราก็จะทำการระบุวงโคจรของดาวเคราะห์น้อยต่างๆได้อย่างแม่นยำมากขึ้น เพราะการทำงานกับวัตถุใกล้โลกนี้ เรานิ่งนอนใจไม่ได้อยู่แล้ว"
ปัจจุบัน นาซ่า ได้ดำเนินการตรวจจับและติดตามดาวเคราะห์น้อยและดาวหางที่เข้ามาใกล้กับโลกโดยใช้ทั้งกล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินและอวกาศ ในชื่อโครงการ "Spaceguard" เพื่อจะได้ติดตามดูภัยคุกคามจากนอกโลกได้
อ้างอิง: NASA/Jet Propulsion Laboratory (2013, January 11). NASA rules out Earth impact in 2036 for asteroid Apophis. ScienceDaily. Retrieved January 13, 2013, from http://www.sciencedaily.com/releases/2013/01/130111133502.htm
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)