วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555
วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2555
วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2555
วันเสาร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2555
นิยามของความรู้
นิยามของความรู้
ประภาเพ็ญ สุวรรณ (อ้างถึงในอักษร สวัสดี 2542, 26) ได้ให้คำอธิบายว่า ความรู้ เป็นพฤติกรรมขั้นต้นที่ผู้เรียนรู้เพียงแต่เกิดความจำได้ โดยอาจจะเป็นการนึกได้หรือโดยการมองเห็น ได้ยิน จำได้ ความรู้ในชั้นนี้ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับคำจำกัดความ ความหมาย ข้อเท็จจริง กฎเกณฑ์ โครงสร้างและวิธีแก้ไขปัญหา ส่วนความเข้าใจอาจแสดงออกมาในรูปของทักษะด้าน “การแปล” ซึ่งหมายถึง ความสามารถในการเขียนบรรยายเกี่ยวกับข่าวสารนั้น ๆ โดยใช้คำพูดของตนเอง และ “การให้ความหมาย” ที่แสดงออกมาในรูปของความคิดเห็นและข้อสรุป รวมถึงความสามารถในการ “คาดคะเน” หรือการคาดหมายว่าจะเกิดอะไรขึ้น
เบนจามิน บลูม (Benjamin S. Bloom อ้างถึงในอักษร สวัสดี 2542, 26-28) ได้ให้ความหมายของ ความรู้ ว่าหมายถึง เรื่องที่เกี่ยวกับการระลึกถึงสิ่งเฉพาะ วิธีการและกระบวนการต่าง ๆ รวมถึงแบบกระสวนของโครงการวัตถุประสงค์ในด้านความรู้ โดยเน้นในเรื่องของกระบวนการทางจิตวิทยาของความจำ อันเป็นกระบวนการที่เชื่อมโยงเกี่ยวกับการจัดระเบียบ โดยก่อนหน้านั้นในปี ค.ศ. 1965 บลูมและคณะ ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการรับรู้หรือพุทธิพิสัย (cognitive domain) ของคน ว่าประกอบด้วยความรู้ตามระดับต่าง ๆ รวม 6 ระดับ ซึ่งอาจพิจารณาจากระดับความรู้ในขั้นต่ำไปสู่ระดับของความรู้ในระดับที่สูงขึ้นไป โดยบลูมและคณะ ได้แจกแจงรายละเอียดของแต่ละระดับไว้ดังนี้
ประภาเพ็ญ สุวรรณ (อ้างถึงในอักษร สวัสดี 2542, 26) ได้ให้คำอธิบายว่า ความรู้ เป็นพฤติกรรมขั้นต้นที่ผู้เรียนรู้เพียงแต่เกิดความจำได้ โดยอาจจะเป็นการนึกได้หรือโดยการมองเห็น ได้ยิน จำได้ ความรู้ในชั้นนี้ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับคำจำกัดความ ความหมาย ข้อเท็จจริง กฎเกณฑ์ โครงสร้างและวิธีแก้ไขปัญหา ส่วนความเข้าใจอาจแสดงออกมาในรูปของทักษะด้าน “การแปล” ซึ่งหมายถึง ความสามารถในการเขียนบรรยายเกี่ยวกับข่าวสารนั้น ๆ โดยใช้คำพูดของตนเอง และ “การให้ความหมาย” ที่แสดงออกมาในรูปของความคิดเห็นและข้อสรุป รวมถึงความสามารถในการ “คาดคะเน” หรือการคาดหมายว่าจะเกิดอะไรขึ้น
เบนจามิน บลูม (Benjamin S. Bloom อ้างถึงในอักษร สวัสดี 2542, 26-28) ได้ให้ความหมายของ ความรู้ ว่าหมายถึง เรื่องที่เกี่ยวกับการระลึกถึงสิ่งเฉพาะ วิธีการและกระบวนการต่าง ๆ รวมถึงแบบกระสวนของโครงการวัตถุประสงค์ในด้านความรู้ โดยเน้นในเรื่องของกระบวนการทางจิตวิทยาของความจำ อันเป็นกระบวนการที่เชื่อมโยงเกี่ยวกับการจัดระเบียบ โดยก่อนหน้านั้นในปี ค.ศ. 1965 บลูมและคณะ ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการรับรู้หรือพุทธิพิสัย (cognitive domain) ของคน ว่าประกอบด้วยความรู้ตามระดับต่าง ๆ รวม 6 ระดับ ซึ่งอาจพิจารณาจากระดับความรู้ในขั้นต่ำไปสู่ระดับของความรู้ในระดับที่สูงขึ้นไป โดยบลูมและคณะ ได้แจกแจงรายละเอียดของแต่ละระดับไว้ดังนี้
- ความรู้ หมายถึง การเรียนรู้ที่เน้นถึงการจำและการระลึกได้ถึงความคิด วัตถุ และปรากฏการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นความจำที่เริ่มจากสิ่งง่าย ๆ ที่เป็นอิสระแก่กัน ไปจนถึงความจำในสิ่งที่ยุ่งยากซับซ้อนและมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน
- ความเข้าใจหรือความคิดรวบยอด (Comprehension) เป็นความสามารถทางสติปัญญาในการขยายความรู้ ความจำ ให้กว้างออกไปจากเดิมอย่างสมเหตุสมผล การแสดงพฤติกรรมเมื่อเผชิญกับสื่อความหมาย และความสามารถในการแปลความหมาย การสรุปหรือการขยายความสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
- การนำไปปรับใช้ (Application) เป็นความสามารถในการนำความรู้ (knowledge) ความเข้าใจหรือความคิดรวบยอด (comprehension) ในเรื่องใด ๆ ที่มีอยู่เดิม ไปแก้ไขปัญหาที่แปลกใหม่ของเรื่องนั้น โดยการใช้ความรู้ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการกับความคิดรวบยอดมาผสมผสานกับความสามารถในการแปลความหมาย การสรุปหรือการขยายความสิ่งนั้น
- การวิเคราะห์ (Analysis) เป็นความสามารถและทักษะที่สูงกว่าความเข้าใจ และการนำไปปรับใช้ โดยมีลักษณะเป็นการแยกแยะสิ่งที่จะพิจารณาออกเป็นส่วนย่อย ที่มีความสัมพันธ์กัน รวมทั้งการสืบค้นความสัมพันธ์ของส่วนต่าง ๆ เพื่อดูว่าส่วนประกอบปลีกย่อยนั้นสามารถเข้ากันได้หรือไม่ อันจะช่วยให้เกิดความเข้าใจต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างแท้จริง
- การสังเคราะห์ (Synthesis) เป็นความสามารถในการรวบรวมส่วนประกอบย่อย ๆ หรือส่วนใหญ่ ๆ เข้าด้วยกันเพื่อให้เป็นเรื่องราวอันหนึ่งอันเดียวกัน การสังเคราะห์จะมีลักษณะของการเป็นกระบวนการรวบรวมเนื้อหาสาระของเรื่องต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อสร้างรูปแบบหรือโครงสร้างที่ยังไม่ชัดเจนขึ้นมาก่อน อันเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ภายในขอบเขตของสิ่งที่กำหนดให้
- การประเมินผล (Evaluation) เป็นความสามารถในการตัดสินเกี่ยวกับความคิด ค่านิยม ผลงาน คำตอบ วิธีการและเนื้อหาสาระเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง โดยมีการกำหนดเกณฑ์ (criteria) เป็นฐานในการพิจารณาตัดสิน การประเมินผล จัดได้ว่าเป็นขั้นตอนที่สูงสุดของพุทธิลักษณะ (characteristics of cognitive domain) ที่ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจ การนำไปปรับใช้ การวิเคราะห์และการสังเคราะห์เข้ามาพิจารณาประกอบกันเพื่อทำการประเมินผลสิ่งหนึ่งสิ่งใด
วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2555
เทคนิคการเรียนให้เก่ง
พูดถึงเรื่องเรียน ใครๆ ก็อยากเก่งกันทุกคน แต่คงมีหลายคน ที่อาจจะท้อแท้กับการเรียน นักวิชาการและนักวิจัยต่างๆ ได้ทำการสำรวจและวิจัย พบว่าเทคนิคการเรียนต่างๆ จากหลายๆคนแตกต่างกันไป ก็เลยนำมาเสนอให้เพื่อนๆ ที่สนใจได้อ่านด้วย เราไปดูกันดีกว่าว่า การเรียน เก่ง เขามีเทคนิคอะไร ยังไง จากการวิจัยและวิเคราะห์ของนักแนะแนวการศึกษาและนักจิตวิทยาหลายคนพบว่า ผู้ที่เรียนไม่ค่อยประสบความสำเร็จหรือเรียนแบบไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ ได้แก่ผู้ที่มีลักษณะดังนี้
Thorndike กล่าวว่า ประสบการณ์ก่อให้เกิดความชำนาญ เขาได้ตั้งกฎแห่งการเรียนไว้ 3 อย่างซึ่งพูดถึงการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น การตอบรับ การฝึกหัดเพื่อก่อให้ เกิดประสบการณ์ และการเตรียมความพร้อมในด้านการเรียน และเขายังมี ข้อแนะนำที่จะช่วยให้การเรียนได้ผลดีและรวดเร็ว คือ
นอกจากนี้ อ.ธีรพร ชัยวัชราภรณ์ ยังให้เทคนิคการจำที่น่าสนใจ ให้นำไปใช้อีกด้วย
| |||||||||||||||||
ที่มาข้อมูล : www.theyoung.net
ที่มาเว็บ : myfirstbrain |
สายสัมพันธ์
มีจากกัน มีอำลา มี..มา มีจากไป
มีอำลา มีอาลัย แต่หัวใจ บ่ จากกัน
ยิ้มก่อนจาก ฝากอาลัย แทนน้ำใจ เคยผูกพัน
ยิ้มเพื่อสู้ อยู่เพื่อฝัน สายสัมพันธ์ ยังผูกใจ
มีคำไหน ที่เคยได้ล่วงเกิน โดยบังเอิญหรือว่าที่ได้ตั้งใจ
ขอโทษที ขอโทษที ที่เป็นไป ขออภัยไว้ทุกสิ่ง
โดยแท้จริง ไม่ได้เจตนา ภาพความหลัง ยังฝังตรึงอุรา
คำสัญญา ยังจดจำ
ยิ้มก่อนจาก ฝากอำลา...
เพลงมาร์ชจุฬาภรณราชวิทยาลัย
เพลงมาร์ชจุฬาภรณราชวิทยาลัย
คำร้อง วิชาญ เชาวลิต : ทำนอง กิตติ ศรีเปารยะ
ราชวิทยาลัยอันใหญ่ยิ่ง งามเพริศพริ้งคุณธรรมเลิศล้ำค่า
ทั้งศาสตร์ศิลป์เลิศล้ำทางปัญญา มุ่งศึกษาวิทยาศาสตร์ให้ก้าวไกล
ชูเชิดเทิดพระเกียรติแห่งเจ้าฟ้า องค์จุฬาภรณพระนามยิ่งใหญ่
เจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์ของชาติไทย ก้องเกริกไกรลือเลื่องกระเดื่องนาม
สีแสดประเสริฐเจิดจ้าองค์ฟ้าหญิง น้ำเงินมิ่งกษัตริยาฟ้าสยาม
มงคลสถิตอยู่คู่เขตคาม ปรากฏนามจุฬาภรณราชวิทยาลัย
มุ่งส่งเสริมสร้างสรรค์จรรโลงชาติ สร้างนักวิทยาศาสตร์ให้ยิ่งใหญ่
สร้างเกียรติยศชื่อเสียงให้เกรียงไกร นำชาติไทยก้าวหน้าชั่วฟ้าดิน
หวั่นโลกรับผลกระทบจากพายุสุริยะโดยตรงในรอบ 5 ปี
ภาพการประทุบนดวงอาทิตย์เมื่อวันที่ 6 มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นการการประทุครั้งรุนแรงที่พุ่งมายังโลกโดยตรงในรอบ 5 ปี |
ผู้เชี่ยวชาญหวั่นโลกรับผลกระทบจากพายุสุริยะรุนแรงโดยตรงในรอบ 5 ปี โดยเกรงว่าอนุภาคมีประจุจากดวงอาทิตย์จะปะทะโลกและทำให้เกิดการรบกวนระบบจ่ายไฟฟ้า ระบบนำทางผ่านดาวเทียมและการสัญจรของเครื่องบิน โดยเฉพาะพื้นที่ใกล้ขั้วโลกจะได้รับผลกระทบมากกว่าส่วนอื่น และดาวอังคารก็ได้รับผลกระทบด้วย
บีบีซีนิวส์อ้างรายงานของผู้เชี่ยวชาญจากองค์การมหาสมุทรและบรรยากาศสหรัฐ (National Oceanic and Atmospheric Administration) หรือโนอา (NOAA) ระบุว่า ในช่วงบ่ายของวันที่ 6 มี.ค.2012 ดวงอาทิตย์ปลดปล่อยอนุภาคมีประจุมายังโลก โดยนับเป็นพายุสุริยะที่ใหญ่ที่สุดที่ปะทะโลกโดยตรงในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา และเป็นผลจากการประทุของมวลดวงอาทิตย์ 2 ครั้งในช่วงสัปดาห์นี้
ด้านเว็บไซต์สเปซด็อทคอมรายงานว่าอนุภาคดังกล่าวมาถึงโลกในเวลา 13.25 น.ของวันที่ 8 มี.ค.2012 ตามเวลาประเทศไทย โดยคลาดเคลื่อนช้าหรือเร็ว 7 ชั่วโมง ส่วนบีบีซีนิวส์ระบุว่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้จะเป็นโอกาสดีให้เราได้เห็นแสงเหนือบริเวณที่อยู่ในตำแหน่งละติจูดสูง โดยขึ้นอยู่กับสภาพท้องฟ้าด้วยว่าปลอดโปร่งหรือไม่ โดยผลกระทบที่เกิดขึ้นนี้จะรุนแรงมากที่สุดในบริเวณขั้วโลก และเครื่องบินที่บินผ่านบริเวณดังกล่าวอาจต้องเลี่ยงเส้นทาง
คาดว่าอนุภาคมีประจุจะพุ่งมายังโลกด้วยความเร็ว 6,400,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งโนอายังคาดการณ์ด้วยว่าพายุสุริยะนี้จะดำเนินต่อไปจนถึงวันศุกร์ที่ 9 มี.ค.นี้ และภาพจากบริเวณที่เกิดการประทุบนดวงอาทิตย์เผยโครงข่ายอันซับซ้อนของจุดมืด (sunspot) ที่บ่งชี้ถึงพลังงานแม่เหล็กมหาศาลที่ถูกเก็บไว้ และในช่วงหลาย 10 ปีที่ผ่านมาก็มีการสังเกตพบพายุสุริยะรุนแรงอื่นๆ ซึ่งมีการประทุขนาดใหญ่ในปี 1972 ที่ทำให้การสื่อสารทางใกล้ผ่านโทรศัพท์ในเมืองอิลลินอยส์ของสหรัฐฯ ถูกตัดขาดรวมอยู่ด้วย
ส่วนเว็บไซต์องค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) ระบุว่า แบบจำลองของนาซาที่อาศัยข้อมูลจากหอดูดาวอวกาศสเตอริโอ (STEREO) และหอดูดาวอวกาศโซโฮ (SOHO) ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการประทุของดวงอาทิตย์ 2 ครั้งเมื่อวันที่ 6 มี.ค.ซึ่งเป็นการพ่นมวลโคโรนาหรือซีเอ็มอี (CME) ว่า การประทุครั้งแรกนั้นอนุภาคมีประจุถูกพ่นออกมาด้วยความเร็วประมาณ 2,000 กิโลเมตรต่อวินาที และการประทุครั้งที่ 2 อนุภาคมีประจุถูกพ่นออกมาด้วยความเร็ว 1,700 กิโลเมตรต่อวินาที โดยอนุภาคมีประจุนี้จะส่งผลกระทบทั้งต่อโลกและดาวอังคาร
บีบีซีนิวส์อ้างรายงานของผู้เชี่ยวชาญจากองค์การมหาสมุทรและบรรยากาศสหรัฐ (National Oceanic and Atmospheric Administration) หรือโนอา (NOAA) ระบุว่า ในช่วงบ่ายของวันที่ 6 มี.ค.2012 ดวงอาทิตย์ปลดปล่อยอนุภาคมีประจุมายังโลก โดยนับเป็นพายุสุริยะที่ใหญ่ที่สุดที่ปะทะโลกโดยตรงในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา และเป็นผลจากการประทุของมวลดวงอาทิตย์ 2 ครั้งในช่วงสัปดาห์นี้
ด้านเว็บไซต์สเปซด็อทคอมรายงานว่าอนุภาคดังกล่าวมาถึงโลกในเวลา 13.25 น.ของวันที่ 8 มี.ค.2012 ตามเวลาประเทศไทย โดยคลาดเคลื่อนช้าหรือเร็ว 7 ชั่วโมง ส่วนบีบีซีนิวส์ระบุว่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้จะเป็นโอกาสดีให้เราได้เห็นแสงเหนือบริเวณที่อยู่ในตำแหน่งละติจูดสูง โดยขึ้นอยู่กับสภาพท้องฟ้าด้วยว่าปลอดโปร่งหรือไม่ โดยผลกระทบที่เกิดขึ้นนี้จะรุนแรงมากที่สุดในบริเวณขั้วโลก และเครื่องบินที่บินผ่านบริเวณดังกล่าวอาจต้องเลี่ยงเส้นทาง
คาดว่าอนุภาคมีประจุจะพุ่งมายังโลกด้วยความเร็ว 6,400,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งโนอายังคาดการณ์ด้วยว่าพายุสุริยะนี้จะดำเนินต่อไปจนถึงวันศุกร์ที่ 9 มี.ค.นี้ และภาพจากบริเวณที่เกิดการประทุบนดวงอาทิตย์เผยโครงข่ายอันซับซ้อนของจุดมืด (sunspot) ที่บ่งชี้ถึงพลังงานแม่เหล็กมหาศาลที่ถูกเก็บไว้ และในช่วงหลาย 10 ปีที่ผ่านมาก็มีการสังเกตพบพายุสุริยะรุนแรงอื่นๆ ซึ่งมีการประทุขนาดใหญ่ในปี 1972 ที่ทำให้การสื่อสารทางใกล้ผ่านโทรศัพท์ในเมืองอิลลินอยส์ของสหรัฐฯ ถูกตัดขาดรวมอยู่ด้วย
ส่วนเว็บไซต์องค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) ระบุว่า แบบจำลองของนาซาที่อาศัยข้อมูลจากหอดูดาวอวกาศสเตอริโอ (STEREO) และหอดูดาวอวกาศโซโฮ (SOHO) ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการประทุของดวงอาทิตย์ 2 ครั้งเมื่อวันที่ 6 มี.ค.ซึ่งเป็นการพ่นมวลโคโรนาหรือซีเอ็มอี (CME) ว่า การประทุครั้งแรกนั้นอนุภาคมีประจุถูกพ่นออกมาด้วยความเร็วประมาณ 2,000 กิโลเมตรต่อวินาที และการประทุครั้งที่ 2 อนุภาคมีประจุถูกพ่นออกมาด้วยความเร็ว 1,700 กิโลเมตรต่อวินาที โดยอนุภาคมีประจุนี้จะส่งผลกระทบทั้งต่อโลกและดาวอังคาร
ดูวิดีโอเพิ่มเติมที่ http://www.youtube.com/watch?v=fVcT_fhIrEY&feature=player_embedded
วันนี้ในอดีต 9 มีนาคม
- พ.ศ. 2319 (ค.ศ. 1776) – ความมั่งคั่งของประชาชาติ โดยนักเศรษฐศาสตร์การเมืองชาวสกอต อดัม สมิธ ถูกตีพิมพ์เป็นครั้งแรก นับเป็นผลงานชิ้นแรกในวิชาเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่
- พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) – สงครามโลกครั้งที่สอง: เครื่องบินทิ้งระเบิดหนัก บี-29 ของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาถล่มกรุงโตเกียว ทำให้เกิดพายุเพลิง (ในภาพ) ซึ่งคร่าชีวิตชาวญี่ปุ่นประมาณ 100,000 คน
- พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) – บาร์บี้ ตุ๊กตาที่มียอดขายสูงที่สุดในโลก เปิดตัวครั้งแรกในมหกรรมของเล่นนานาชาติสหรัฐอเมริกา ในนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) – ประชาชนในกรุงเบลเกรด เดินขบวนครั้งใหญ่เพื่อต่อต้านประธานาธิบดี สโลโบดัน มิโลเชวิช ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 คน
วันสำคัญของไทย
วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555
วันที่ 22 มีนาคม ของทุกปีเป็น “วันน้ำของโลก” หรือ “World Day for Water”
วันน้ำของโลก
ความเป็นมา
จากการที่น้ำจืดของโลกขาดแคลนมากขึ้น ในปี พ.ศ.2535 สมัชชาสหประชาชาติ ได้ประกาศให้วันที่ 22 มีนาคม ของทุกปีเป็น “วันน้ำของโลก” หรือ “World Day for Water” โดยเริ่มต้นในปี 2536 เป็นปีแรก และชักชวนให้ประเทศต่างรับเป็นวันสิ่งแวดล้อมของชาติ เพื่อระลึกถึงความสำคัญของน้ำ ซึ่งเป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลก อีกทั้งกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในหมู่มวลมนุษยชาติในเรื่องการอนุรักษ์น้ำ ช่วยกันดูแล บำรุงรักษา การพัฒนาแหล่งน้ำ และจัดการทรัพยากรน้ำจืดอย่างยั่งยืนสำหรับอนาคต ตลอดจนดำเนินการตามข้อเสนอแนะของที่ประชุมสหประชาชาติปี2535ว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา หรือที่เรียกกันว่า Agenda 21 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
มีการจัดกิจกรรมการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องน้ำของโลกขึ้นที่ประเทศต่างๆ ดังนี้ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
ครั้งที่ 1: ปี 2540 ณ ประเทศโมร็อกโก | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
ครั้งที่ 2: ปี 2543 ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
ครั้งที่ 3: ปี 2546 ณ ประเทศญี่ปุ่นในการประชุมหนแรกนั้น ผู้เข้าประชุมได้ร่วมกำหนด “หลักจริยธรรมในการใช้น้ำครั้งใหม่”เพื่อต่อสู้กับปัญหาการขาดแคลนน้ำโลกดังนั้น การประชุมน้ำโลกในครั้งที่สองจึงเป็นการสานต่องานที่ทำค้างไว้ โดยจะมีการผลักดัน " แผนปฏิบัติการ " สำหรับน้ำในอีก 25ปีข้างหน้า เพื่อทำให้ชาวโลกมีน้ำสะอาดไว้ดื่มกิน ชำระร่างกาย และทำการเกษตรอย่างทั่วถึงในปี 2568 ผู้รับหน้าที่ทำงาน คือ " คณะกรรมาธิการโลกว่าด้วยน้ำสำหรับศตวรรษที่ 21 " ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงปารีส ฝรั่งเศส คณะกรรมาธิการชุดนี้ตั้งเป้าหมายว่า จะเพิ่มการลงทุนในการจัดหาน้ำทั่วโลกขึ้นเป็นปีละ 180,000 ล้านดอลลาร์ โดยมีภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย นายโคฟี อันนาน เลขาธิการสหประชาชาติได้มีสารเนื่องในวันน้ำโลก โดยย้ำว่า " น้ำสะอาดเป็นสิ่งพิเศษ ในศตวรรษใหม่นี้ยังไม่มีเทคโนโลยีใดที่สามารถผลิตน้ำได้ น้ำจึงไม่มีสิ่งใดมาแทนที่ หรือทดแทนได้ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเห็นคุณค่าของน้ำและรักษาทรัพยากรนี้ไว้ " เลขาธิการยูเอนยังได้เรียกร้องให้ประชาคมโลกใช้น้ำอย่างรับผิดชอบ เพื่อให้คนจนและคนรวยได้รับน้ำอย่างเท่าเทียมกัน ในราคาที่หาซื้อได้ และว่าสิ่งท้าทายของมนุษยชาติก็คือ การจัดกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์น้ำ คุณภาพของน้ำ และปริมาณน้ำ ซึ่ง "สตรีเพศ" ในฐานะผู้จัดการครอบครัวจะต้องมีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ นอกจากนี้จะต้องมีการสร้างจิตสำนึกให้เกิดขึ้นทั่วโลกว่า น้ำเป็นสิ่งสำคัญ และมีบทบาทในการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนั้นชาวโลกต้องยกระดับความรู้ในเรื่องการหมุนเวียนนำน้ำมาใช้ใหม่ และการเพิ่มสมรรถวิสัยต่อการจัดการทรัพยากรน้ำที่หายากนี้ ซึ่งทั้งหมดนี้ จะบรรลุผลได้ด้วยการดึงสติปัญญาของมนุษย์ออกมมาใช้ และส่งเสริมวัฒนธรรมการอนุรักษ์น้ำ ตลอดจนการ " ปฏิวัติสีน้ำเงิน "
|
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
ศาสตราจารย์ พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
ภูมิทัศน์โรงเรียน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)